เกี่ยวกับชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

ประวัติชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

15 ปี ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

“เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด”


        ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน (แห่งแรกในประเทศไทย) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี องค์ประธานโครงการได้เสด็จเปิดชมรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2546 จากการร่วมมือของนักศึกษา และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่มองเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์และเพื่อให้นักศึกษาภายในสถาบันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ภายใต้แนวคิด “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่ง ยาเสพติด” โดยได้ดำเนินกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีการรับสมัครสมาชิกเพื่อร่วมอุดมการณ์/รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์โครงการทุกรูปแบบ เพื่อสร้างกระแสไม่ให้เยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ยใต้แนวคิด 3 ก. ประกอบด้วย 1.กรรมการ 2.กองทุน 3.กิจกรรม/ และ3 ยุทธศาสตร์ 1.สร้างกระแส 2.สร้างภูมิคุ้มกัน 3.สร้างและพัฒนาเครือข่าย เปิดโอกาสให้เยาว โดยยึดหลักการดำเนินกิจกรรมภาชนได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ/ เพื่อค้นหาตัวเอง เช่น การเต้น การร้องเพลง เล่นกีฬาและกิจกรรมที่น่าสนใจ ก่อให้เกิดการสร้างสุข เกิดความภาคภูมิใจตนเอง และในที่สุดไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

        ปัจจุบันชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ขยายเครือข่ายและเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดชมรมทูบีนัมเบอร์วันในส่วนต่างๆ อาทิ สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน เป็นต้น และนอกจากนี้ยังได้มีการขยายเครือข่ายไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น วิทยาลัยครูหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มหาวิทยาลัยเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยได้การตอบรับที่ดีมาก

        ตลอดระยะเวลาดำเนินงาน 15 ปี ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สามารถตอบโจทย์สังคมได้ว่า องค์กรทำให้องค์กรมีชื่อเสียง และด้านสังคมพบว่าทำให้เยาวชนตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด มีทักษะในการปฏิเสธ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่หลงไปมัวเมากับสื่อยั่วยุ รอบด้าน โดยการหันมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์สังคม ให้เยาวชนเป็นหนึ่งในด้านที่อยากจะเป็น ก่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีหลักการใช้ชีวิตมากขึ้น เช่นได้รู้ว่าการให้มีค่ามากกว่าการรับ มีการพัฒนาความสามารถที่เห็นได้อย่างชัดเจน กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก มีจิตอาสา เกิดภาวะผู้นำ สนใจการเรียนมากขึ้น รู้จักแบ่งเวลา เข้าใจสังคมมากกว่าที่เป็น

        จากการดำเนินงานทำให้ชมรมได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลองค์กรยอดเยี่ยมด้านการต่อต้านยาเสพติด รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการต่อต้านยาเสพติด มีการเผยแพร่ข่าวทางช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 11 เป็นต้น สำหรับแกนนำได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย จากการที่ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมมามากมายอย่างยาวนานและต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14 ปี ทำให้ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ได้รับรางวัลชมรมทูบีนัมเบอร์วันต้นแบบระดับเพชร ระดับประเทศ ประจำปี 2559 โดยได้สร้างความภาคภูมิใจกับพวกเราชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

        พวกเราชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีแผนในอนาคตของชมรมว่าเราจะเป็นชมรม ทูบีนัมเบร์วันระดับยอดเพชรในปี 2564 เป็นเพชรทูบีฯ ศรีล้านนา ตักสิลา แก้ปัญหายาเสพติด มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนา องค์ความรู้ โดยใช้กิจกรรม CRRU MODEL (เก่ง ดี มีคุณภาพ) ในการขับเคลื่อนพัฒนาให้เกิดกิจกรรมที่ยังยืนในระดับประเทศต่อไป

        นอกจากนี้จากผลการดำเนินงาน ได้ค้นพบสูตรลับความสำเร็จในการดำเนินงานทูบีนัมเบอร์วัน ชื่อว่า M-Strong M=Mind การทำงานทูบีนัมเบอร์วันต้องทำด้วยใจ ที่รัก และศรัทธา S = Skill ต้องมีทักษาในการจัดกิจกรรม T =Transfer มีการถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น O= Organize การทำงานต้องมีระบบ N= Net ทำทูบีฯต้องมีการสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน G=Grand ต้องทำทุกอย่างออกมาให้ดีที่สุด เพื่อก้าวไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

โครงสร้างชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

การดำเนินงานของชมรมทูบีนัมเบอร์วัน


การดำเนินงานของชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตามหลัก 3 ก.
ก. ที่ 1 กรรมการ
        กรรมการในส่วนของชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีการแบ่งการทำงานในส่วนของผู้บริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการนักศึกษาซึ่งมีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนที่ 1 คณะกรรมการฝ่ายที่ปรึกษา ผู้บริหาร มีหน้าที่ให้นโยบายสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ส่วนที่ 2 คณะกรรมการที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาในด้านการจัดกิจกรรมทูบีนัมเบอร์วัน ส่วนที่ 3 คณะกรรมการนักศึกษา มีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมและวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปกับนโยบายของมหาวิทยาลัย และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ของโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ในการเป็นจิตอาสาเพื่อขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และส่วนที่ 4 คณะกรรมการฝ่ายสโมสรนักศึกษา 14 สโมสร มีหน้าที่บูรณาการจัดกิจกรรมทูบีนัมเบอร์วันร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างกระแสในการรณรงค์และปลุกจิตสำนึกในเรื่องการต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษา

       โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

       ส่วนที่ 1 คณะกรรมการที่ปรึกษา ( ระดับผู้บริหาร ) ของชมรม โดยมีอธิการบดี เป็นประธานชมรม และมีคณะกรรมการตามคำสั่งแต่งตั้งของมหาวิทยาลัย ที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในมหาวิทยาลัย

       ส่วนที่ 2 คณะกรรมการที่ปรึกษา (รุ่นพี่ที่มาจากรุ่นพี่ที่เป็นแกนนำทูบีนัมเบอร์วันในแต่ละรุ่น)

       ส่วนที่ 3 คณะกรรมการนักศึกษา ในส่วนนี้มีการคัดเลือกโดยการรับสมัครจากนักศึกษาทั่วไปเพื่อเป็น ผู้นำในการดำเนินกิจกรรมและมีสมาชิกเข้าร่วมทำงานในแต่ละฝ่าย โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนิน กิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

       ส่วนที่ 4 คณะกรรมการฝ่ายสโมสรนักศึกษา 14 สโมสรและ 1 องค์การนักศึกษา โดยมีประธาน สโมสรนักศึกษา และนายกองค์การนักศึกษาในการติดต่อประสานงาน และมีหน้าที่ในการดำเนินงาน และบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนกิจกรรมทูบีนัมเบอร์วันให้เข้าถึงกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

       คณะกรรมการนักศึกษาชมรมส่วนที่ 3 มีวาระการเข้ามาบริหาร 1 ปี พอครบหนึ่งปีจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาบริหารแทน ปัจจุบันคณะกรรมการนักศึกษามีการบริหารชมรมทั้งหมด 14 รุ่น มีแผนการดำเนินงานโดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการประจำเดือน และประจำปี หรือขึ้นอยู่กับภารกิจเร่งด่วนโดยประธานคณะกรรมการนักศึกษาแกนนำเป็นผู้ดำเนินการประชุม มีเลขานุการ เป็นผู้บันทึกการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมที่กำหนดไว้ทุกครั้ง


บทบาทหน้าที่การทำงาน

แกนนำอาสาสมัครชมรมทูบีนัมเบอร์วัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อใช้ยึดเป็นหลักในงานดำเนินงาน และได้มีการประชุมวางแผนงาน กำหนดเป็นวาระทุก 3 เดือน

1.ประธานแกนนำ

       1. ประสานงานกับทุกฝ่ายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

       2. เป็นแกนนำในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

2. รองประธานแกนนำ

        1. ให้คำปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมของชมรม

        2. ประสานงานระหว่างประธานและสมาชิก

3. เลขานุการแกนนำ

        1. จดบันทึกการประชุม รายงานการประชุม และสรุปวาระการประชุม

        2. ทำบันทึกข้อมูลผู้ที่มาใช้บริการในศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น

4. ฝ่ายกิจกรรมและประสานงาน

        1. คิดค้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์แปลกใหม่

        2. ประสานงานเรื่องการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ สโมสรนักศึกษาคณะต่างๆ , ชมรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. ฝ่ายกองทุน

        1. เก็บรวบรวมเอกสารทางการเงินของชมรมฯ สรุปรายรับ – รายจ่ายของแต่ละกิจกรรม

        2. ทำหนังสือออก บันทึกข้อความ และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

6. ฝ่ายสอดส่องดูแลและรับเรื่องราวร้องทุกข์

        1. รับปรึกษาและให้คำปรึกษากับผู้ใช้บริการศูนย์เพื่อนใจ

        2. ควบคุม ดูแล และช่วยเหลือสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

        3. แก้ไขและพื้นฟูตามสภาพปัญหา และความต้องการของสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน

7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสร้างสรรค์

        1.ประชาสัมพันธ์โครงการ และเขียนข่าวกิจกรรมต่างๆ ของชมรมทูบีนัมเบอร์วันเพื่อเผยแพร่ทางสื่อและเว็บไซต์ของชมรม

        2. วางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ชมรมทูบีนัมเบอร์วันโดยคิดกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อนำเสนอผ่านประธานแกนนำและสมาชิกชมรม

        3. บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวขณะดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นผลงานของชมรมฯ

        4. จัดเตรียมอุปกรณ์ด้านโสตทัศนูปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ เครื่องเสียง ฯลฯ

โครงสร้างการบริหารงานชมรมทูบีนัมเบอร์วันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
แผนผังผู้บริหารที่ปรึกษา ชมรมทูบีนัมเบอร์วันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



แผนผังคณะกรรมการ ชมรมทูบีนัมเบอร์วันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย